ผัคคุณะสูตร อ่านว่า ผัก-คุ-นะ-สูด

[๓๒๗] ก็สมัยนั้น ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์เป็นไข้หนัก

             ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม   แล้วนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระผัคคุณะอาพาธมีทุกข์เป็นไข้หนัก  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะเถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะ  ถึงที่อยู่ท่านพระผัคคุณะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล แล้วจะลุกจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค  ได้ตรัสกะท่านพระผัคคุณะว่า  อย่าเลยผัคคุณะ เธออย่าลุกขึ้นจากเตียง อาสนะเหล่านี้ที่ผู้อื่นได้ปูไว้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น  พระผู้มีพระภาคได้ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้แล้ว

 


            ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระผัคคุณะว่า ดูกรผัคคุณะเธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาย่อมบรรเทาไม่กำเริบหรือ  ปรากฏว่าบรรเทา ไม่กำเริบขึ้นหรือ ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้  ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก  ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบนั้นไม่บรรเทาเลยข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลังพึงเฉือนศีรษะด้วยมีดโกนที่คมฉันใด ลมกล้าเสียดแทงศีรษะของข้าพระองค์ ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่บรรเทาเลย  เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเอาเชือกที่เหนียวแน่นพันศีรษะ ฉันใด ความเจ็บปวดที่ศีรษะของข้าพระองค์ก็มีประมาณยิ่ง ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้เปรียบเหมือนบุรุษฆ่าโค หรือลูกมือของบุรุษฆ่าโค เป็นคนขยันพึงใช้มีดสำหรับชำแหละโคที่คม ชำแหละท้องโค ฉันใด ลมกล้ามีประมาณยิ่งย่อมเสียดแทงท้องของข้าพระองค์ ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ...เปรียบบุรุษผู้มีกำลังสองคน จับบุรุษผู้อ่อนกำลังคนเดียวที่แขนคนละข้าง แล้วพึงลนย่างบนหลุมถ่านไฟ ฉันใด ความเร่าร้อนที่กายของข้าพระองค์ก็ประมาณยิ่งฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้นไม่บรรเทาเลย

           ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงด้วยธรรมีกถาให้ท่านพระผัคคุณะเห็นแจ้ง    ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป  ครั้นเมื่อ พระผู้มีพระภาคเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้กระทำกาละ  และในเวลาตายอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะนั้น ผ่องใสยิ่งนัก     ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากมาไม่นาน ท่านพระผัคคุณะก็กระทำกาละ และในเวลาตาย  อินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะผ่ององใสยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ จิตของผัคคุณภิกษุนั้น  ก็หลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ   เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น  

           ดูกรอานนท์อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร  ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม  โดยกาลอันควร ประการนี้ ประการเป็นไฉน ดูกรอานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ในเวลาใกล้ตายเธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลางอันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ  จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ  เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น   ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์  ข้อที่ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

              อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์   ข้อที่ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

             อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์    ข้อที่ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร

             ดูกรอานนท์ จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส  อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต พระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์   ข้อที่ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

             อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ-*กิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคตแต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์   ข้อที่ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร  

              อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ-*กิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคตและย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

              ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ ข้อ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร ประการนี้แล  


อ้างอิง;  https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=8948&Z=9032

คำค้น; ผัคคุณะสูตร

อสฺสุตวตา ปุถุชฺชเนน อ่านว่า อัด-สุ-ตะ-วา-ปุ-ถุ-ชะ-เน-นะ แปลว่า...

  [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก๔ จำพวกเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มี วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌาน นั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝีเป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มี วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌาน นั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝีเป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มี วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌาน นั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝีเป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น บุคคลนั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝีเป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียนเป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไปเป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตนบุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔
จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๔

บาลี:
[๑๒๔] จตฺตาโรเม ภิกฺขเว ปุคฺคลา สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมึ
กตเม จตฺตาโร อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ ปุคฺคโล วิวิจฺเจว กาเมหิ
วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชํ ปีติสุขํ ปฐมํ
ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ โส ยเทว ตตฺถ โหติ รูปคตํ เวทนาคตํ
โรคโต คณฺฑโต สลฺลโต อฆโต อาพาธโต ปรโต ปโลกโต สุญฺญโต
สญฺญาคตํ สงฺขารคตํ วิญฺญาณคตํ เต ธมฺเม อนิจฺจโต ทุกฺขโต อนตฺตโต สมนุปสฺสติ โส กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุทฺธาวาสาน
ปุถุชฺชเนหิ ฯ ปุน จปรํ ภิกฺขเว อิเธกจฺโจ ปุคฺคโล วิตกฺกวิจารานํ
เทวานํ สหพฺยตํ อุปปชฺชติ อยํ โข ภิกฺขเว อุปปตฺติ อสาธารณา
วูปสมา ฯเปฯ ทุติยํ ฌานํ ฯเปฯ ตติยํ ฌานํ ฯเปฯ จตุตฺถํ

Sources:
Keyword: อสฺสุตวตา  ปุถุชฺชเนน

อนุสาสนีปาฏิหารย์ ด.ต.ประเสริฐ อาจศัตรู

 สิ่งที่ข้าพเจ้า พิสูจน์   และเห็ด้วยตาตนเอง

https://photos.app.goo.gl/GwuC69wJ8FfVLoTUA


ขออนุโมทนาสาธุ  ไว้เป็นอนุสสติ


เตือนไว้มิให้ประมาท

อนุสาสนีปาฏิหารย์คุณยายทอง


https://photos.app.goo.gl/FyhiFuUkQ535Rf8P6

 ขออนุญาตคุณยายและญาติมิตร นำภาพนี้มาเป็นรัตน5 เผยแผ่คำสอนจากพระโอษฐ์ (พุจธวจน) โปรดใช้วิจารณญาณ และศึกษาพระสูตรเพิ่มเติม🙏


การก้าวลงสู่ครรภ์ของสัตว์บางจำพวก

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓

ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ๕. สัมปสาทนียสูตร (๒๘)



[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี

เขตเมืองนาลันทา ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ

ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค

อย่างนี้ว่า ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่จะมี

ความรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระสัมโพธิญาณ ฯ.........

...........

[๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นข้อธรรมที่เยี่ยม คือ

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในการก้าวลงสู่ครรภ์ การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ เหล่านี้

คือ-

             สัตว์บางชนิดในโลกนี้ ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ใน

ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๑ ฯ


             ยังอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดาอย่าง-

*เดียว แต่ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการ

ก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๒ ฯ

             ยังอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึก

ตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์

ข้อที่ ๓ ฯ

            ยังอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา

รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์

ข้อที่ ๔ ฯ


             ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้ก็เป็นข้อธรรมที่เยี่ยม ในการก้าวลงสู่ครรภ์ ฯ

อนุโมทนา สาธุ.
9/8/2020

พุทธวจน 1 ตามรอยธรรม (Slide Presentation)


พุทธวจน ตามรอยธรรม
ภายในเล่มยังให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรมตามแบบดั้งเดิม เช่น การเจริญสติ การทำสมาธิ และการปฏิบัติศีล ซึ่งเป็นวิธีการสำคัญที่พระพุทธเจ้าใช้เพื่อพาผู้ปฏิบัติไปสู่การหลุดพ้นจากทุกข์ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายเรื่องของกรรมและวิบาก ที่สอดคล้องกับแนวคิดของการเป็นเหตุผลในการดำเนินชีวิต

หนังสือ "พุทธวจน ตามรอยธรรม" เป็นหนึ่งในผลงานที่มีคุณค่าทางจิตวิญญาณ ที่รวบรวมคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้าไว้ในลักษณะที่บริสุทธิ์และครบถ้วน โดยใช้คำพูดที่ตรงไปตรงมา ไม่ถูกตีความเพิ่มเติมหรือแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

จุดเด่นของ พุทธวจน คือการนำเสนอธรรมะจากพระพุทธเจ้าโดยตรง ผ่านพระสูตรและคำเทศนาที่บันทึกไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก หนังสือเล่มนี้เน้นการศึกษาคำสอนที่เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจหลักธรรมที่ถูกต้อง แต่ยังชี้แนะวิธีการปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อเข้าถึงสติปัญญาและความสงบในจิตใจ

ภายในเล่มยังให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรมตามแบบดั้งเดิม เช่น การเจริญสติ การทำสมาธิ และการปฏิบัติศีล ซึ่งเป็นวิธีการสำคัญที่พระพุทธเจ้าใช้เพื่อพาผู้ปฏิบัติไปสู่การหลุดพ้นจากทุกข์ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายเรื่องของกรรมและวิบาก ที่สอดคล้องกับแนวคิดของการเป็นเหตุผลในการดำเนินชีวิต

สำหรับผู้ที่กำลังค้นหาคำตอบทางจิตวิญญาณ หรือผู้ที่ต้องการศึกษาพระธรรมคำสอนดั้งเดิม หนังสือ พุทธวจน ตามรอยธรรม เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ไม่ควรพลาด ผู้อ่านจะได้พบกับธรรมะที่บริสุทธิ์ สะอาด และตรงตามคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้า ที่จะนำพาชีวิตสู่ทางแห่งปัญญาและความสุขอย่างแท้จริง





#พุทธวจน #ธรรมะ #ตามรอยธรรม #หนังสือธรรมะ #พระพุทธเจ้า #พุทธศาสนา #การปฏิบัติธรรม #เจริญสติ #กรรม #คำสอนพระพุทธเจ้า


พุทธวจนเรียล จากกัลยาณมิตร

พุทธวจนเรียล : จากเฟซบุ๊ค
ฟังทุกวัน สะสมสุตตะ สร้างปัญญา

ทุจริต ๓: อาหารของนิวรณ์ ๕ และวิธีละจากคำสอนพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง ทุจริต ๓ (ความประพฤติผิดทางกาย วาจา และใจ) ว่าเป็น "อาหาร" หรือปัจจัยที่เกื้อหนุนนิวรณ์ ๕ ใน อากังเขยยสูตร (...