การพัฒนาทางจิตใจและปัญญา จากการรักษาศีล

ใน กิมัตถิยสูตร (Anguttara Nikaya 10.1) พระพุทธเจ้าทรงอธิบายถึงความสำคัญและผลลัพธ์ของศีล โดยชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาทางจิตใจและปัญญาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้นเมื่อปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัดและถูกต้อง ทรงแสดงแก่พระอานนท์ว่าศีลเป็นรากฐานที่นำไปสู่การหลุดพ้นโดยลำดับ ดังนี้:

1. ศีลที่เป็นกุศล: การรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์เป็นพื้นฐานของความดีงามในชีวิต นำมาซึ่งผลคือความไม่มีความคับแค้นใจ (อวิปปฏิสาร)


2. อวิปปฏิสาร: การไม่คับแค้นใจทำให้เกิดความปลื้มปิติใจ (ปราโมทย์) อันเป็นผลจากความสบายใจในความประพฤติที่ดีงาม


3. ปราโมทย์: ความปลื้มปิติใจนำมาซึ่งความอิ่มเอิบยินดี (ปีติ) ที่ละเอียดขึ้น


4. ปีติ: ความอิ่มเอิบนี้ส่งผลให้จิตสงบ (ปัสสัทธิ) และเบาใจ


5. ปัสสัทธิ: ความสงบใจส่งผลให้เกิดสุขทางใจที่ลึกซึ้ง (สุข)


6. สุข: สุขนี้ทำให้จิตตั้งมั่น (สมาธิ) ซึ่งเป็นรากฐานของการพิจารณาเห็นตามความเป็นจริง


7. สมาธิ: สมาธิทำให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะทั้งปวง (ยถาภูตญาณทัสสนะ)


8. ยถาภูตญาณทัสสนะ: ความรู้แจ้งนี้นำไปสู่ความหน่ายในกิเลส (นิพพิทา) และคลายความยึดมั่นในสังขาร (วิราคะ)


9. นิพพิทาวิราคะ: เมื่อเกิดความหน่ายและคลายกำหนัด จะนำไปสู่การหลุดพ้น (วิมุตติ) และความรู้แจ้งในภาวะหลุดพ้น (วิมุตติญาณทัสสนะ)


10. วิมุตติญาณทัสสนะ: การรู้แจ้งในภาวะหลุดพ้นนี้เป็นอานิสงส์สูงสุดของศีล นำไปสู่อรหัตผล



สรุป:
พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่า ศีลเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาจิตและปัญญา นำไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์อย่างเป็นลำดับ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการเริ่มต้นจากศีลที่ดี ย่อมนำไปสู่สมาธิและปัญญาที่ลึกซึ้ง และท้ายที่สุดนำไปสู่การบรรลุพระนิพพาน

สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่: https://suttacentral.net/an10.1
[There may be an occasional error in linking to the correct sutta due to the available training data.]


Meriko Kojic X Glutaplus Body Cream วิตามิน C,E

ช่วยให้ผิวดูขาวกระจ่างใสใน 7 วัน! ซื้อ 2 กระปุกใหญ่ ในราคาเพียง 590 บาท จากปกติ 1,180 บาท

สั่งซื้อเลย

ทิศหก:พระสูตร-สิงคาลกสูตร

พระสูตร
Siṅgālasutta—Siam Rath

ทีฆนิกาย
ปาฏิกวรรค

๑๓ สิงคาลกสูตร


ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้น สิงคาลกคฤหบดีบุตรลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าชุ่ม มีผมเปียก ประคองอัญชลี นอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้ายทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน ฯ
ภาพประกอบจาก AI

ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้วทรงถือบาตร และจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกคฤหบดีบุตร ซึ่งลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าชุ่ม มีผมเปียกประคองอัญชลี นอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่ แล้วได้ตรัสถามว่าดูกรคฤหบดีบุตร ท่านลุกขึ้นแต่เช้าออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าชุ่ม มีผมเปียกประคองอัญชลีนอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่ เพราะเหตุอะไรหนอ ฯ สิงคาลกคฤหบดีบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คุณพ่อของข้าพระพุทธเจ้าเมื่อใกล้จะตายได้สั่งไว้อย่างนี้ว่า ดูกรพ่อ เจ้าพึงนอบน้อมทิศทั้งหลาย ข้าพระพุทธเจ้าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาคำของคุณพ่อ จึงลุกขึ้นแต่เช้าออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าชุ่ม มีผมเปียก ประคอง อัญชลี นอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่ ฯ

ภ. ดูกรคฤหบดีบุตร ในวินัยของพระอริยเจ้า เขาไม่นอบน้อมทิศ ๖ กันอย่างนี้ ฯ

สิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวินัยของพระอริยเจ้าท่านนอบน้อมทิศ ๖ กันอย่างไร ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ตามที่ในวินัยของพระอริยเจ้าท่านนอบน้อมทิศ ๖ กันนั้นเถิด ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักกล่าว ฯ สิงคาลกคฤหบดีบุตร ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรคฤหบดีบุตร อริยสาวกละกรรมกิเลสทั้ง ๔ ได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยฐานะ ๔ และไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ อริยสาวกนั้นเป็นผู้ปราศจากกรรมอันลามก ๑๔ อย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ปกปิดทิศ ๖ ย่อมปฏิบัติเพื่อชำนะโลกทั้งสอง และเป็นอันอริยสาวกนั้นปรารภแล้ว ทั้งโลกนี้และโลกหน้า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ฯ กรรมกิเลส ๔ เป็นไฉน ที่อริยสาวกละได้แล้ว ดูกรคฤหบดีบุตร กรรมกิเลส คือ ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ กรรมกิเลส ๔ เหล่านี้ ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า

ปาณาติบาต อทินนาทาน มุสาวาท และการคบหาภรรยาผู้อื่น เรากล่าวว่าเป็น
กรรมกิเลส บัณฑิตไม่สรรเสริญ ฯ

อริยสาวกไม่กระทำบาปกรรมโดยฐานะ ๔ เป็นไฉน ปุถุชนถึงฉันทาคติ ย่อมทำกรรมอันลามก ถึงโทสาคติ ย่อมทำกรรมอันลามก ถึงโมหาคติ ย่อมทำกรรมอันลามก ถึงภยาคติ ย่อมทำกรรมอันลามก ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร ส่วนอริยสาวกย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ย่อมไม่ถึงโทสาคติ ย่อมไม่ถึงโมหาคติ ย่อมไม่ถึงภยาคติ ท่านย่อมไม่ทำกรรมอันลามกโดยฐานะ ๔ เหล่านี้

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า

ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก ความชัง ความกลัว ความหลง
ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม ดังดวงจันทร์ในข้างแรม ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม
เพราะความรัก ความชัง ความกลัว ความหลง ยศย่อมเจริญแก่ผู้นั้น
ดุจดวงจันทร์ในข้างขึ้น ฯ

อริยสาวกย่อมไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะ ๖ เป็นไฉน ดูกรคฤหบดีบุตร การประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการเที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในกลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การเที่ยวดูมหรสพเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ การประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะประการ ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการนี้ คือ ความเสื่อมทรัพย์อันผู้ดื่มพึงเห็นเอง ๑ ก่อการทะเลาะวิวาท ๑ เป็นบ่อเกิดแห่งโรค ๑ เป็นเหตุเสียชื่อเสียง ๑ เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย ๑ มีบทที่ ๖ คือ เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการเที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในกลางคืน ๖ ประการเหล่านี้ คือ ผู้นั้นชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว ๑ ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา บุตรภรรยา ๑ ไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์สมบัติ ๑ เป็นที่ระแวงของคนอื่น ๑ คำพูดอันไม่เป็นจริง ในที่นั้นๆ ย่อมปรากฏในผู้นั้น ๑ อันเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากแวดล้อม ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการเที่ยวไปในตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน เหล่านี้แล ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการเที่ยวดูมหรสพ ๖ ประการเหล่านี้คือ รำที่ไหนไปที่นั่น ๑ ขับร้องที่ไหนไปที่นั่น ๑ ประโคมที่ไหนไปที่นั่น ๑ เสภาที่ไหนไปที่นั่น ๑ เพลงที่ไหนไปที่นั่น ๑ เถิดเทิงที่ไหนไปที่นั่น ๑ ดูกรคฤหบดีบุตรโทษ ๖ ประการในการเที่ยวดูมหรสพ เหล่านี้แล ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการเหล่านี้ คือ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ๑ ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ที่เสียไป ๑ ความเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน ๑ ถ้อยคำของคนเล่นการพนัน ซึ่งไปพูดในที่ประชุมฟังไม่ขึ้น ๑ ถูกมิตร อมาตย์หมิ่นประมาท ๑ ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่าชายนักเลงเล่นการพนันไม่สามารถจะเลี้ยงภรรยา ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตร ๖ ประการเหล่านี้ คือ นำให้เป็นนักเลงการพนัน ๑ นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้ ๑ นำให้เป็นนักเลงเหล้า ๑ นำให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม ๑ นำให้เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า ๑ นำให้เป็นคนหัวไม้ ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งการคบคนชั่วเป็นมิตรเหล่านี้แล ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร โทษในการประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน ๖ ประการเหล่านี้ คือ มักให้อ้างว่าหนาวนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าร้อนนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าเวลาเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่ายังเช้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าหิวนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศ ผลัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความสิ้นไป ดูกรคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการประกอบเนืองๆ ซึ่งความเกียจคร้าน เหล่านี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า

เพื่อนในโรงสุราก็มี เพื่อนกล่าวแต่ปากว่าเพื่อนๆ ก็มี
ส่วนผู้ใดเป็นสหายในเมื่อความต้องการเกิดขึ้นแล้ว ผู้นั้นจัดว่าเป็นเพื่อนแท้
เหตุ ๖ ประการ คือ การนอนสาย ๑ การเสพภรรยาผู้อื่น ๑
ความประสงค์ผูกเวร ๑ ความเป็นผู้ทำแต่สิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑ มิตรชั่ว ๑
ความเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่นนัก ๑ เหล่านี้ ย่อมกำจัดบุรุษเสียจากประโยชน์สุข
ที่จะพึงได้ พึงถึง คนมีมิตรชั่ว มีเพื่อนชั่ว มีมรรยาทและการเที่ยวชั่ว
ย่อมเสื่อมจากโลกทั้งสอง คือ จากโลกนี้และจากโลกหน้า
เหตุ ๖ ประการ คือ การพนันและหญิง ๑ สุรา ๑ ฟ้อนรำขับร้อง ๑
นอนหลับในกลางวันบำเรอตนในสมัยมิใช่การ ๑ มิตรชั่ว ๑
ความตระหนี่เหนียวแน่นนัก ๑ เหล่านี้ ย่อมกำจัดบุรุษเสียจากประโยชน์สุข
ที่จะพึงได้ พึงถึง ชนเหล่าใดเล่นการพนัน ดื่มสุรา เสพหญิงภรรยาที่รักเสมอด้วยชีวิตของผู้อื่น
คบแต่คนต่ำช้า และไม่คบหาคนที่มีความเจริญ
ย่อมเสื่อมเพียงดังดวงจันทร์ในข้างแรม ผู้ใดดื่มสุรา ไม่มีทรัพย์
หาการงานทำเลี้ยงชีวิตมิได้ เป็นคนขี้เมา ปราศจากสิ่งเป็นประโยชน์
เขาจักจมลงสู่หนี้เหมือนก้อนหินจมน้ำ ฉะนั้น จักทำความอากูลแก่ตนทันที
คนมักมีการนอนหลับในกลางวัน เกลียดชังการลุกขึ้น
ในกลางคืนเป็นนักเลงขี้เมาเป็นนิจ ไม่อาจครอบครองเหย้าเรือนให้ดีได้
ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลย ชายหนุ่มที่ละทิ้งการงาน
ด้วยอ้างเลศว่า หนาวนัก ร้อนนัก เวลานี้เย็นเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น
ส่วนผู้ใดไม่สำคัญความหนาว และความร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า ทำกิจของบุรุษอยู่
ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุขเลย ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร คน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ คนนำสิ่งของๆ เพื่อนไปถ่ายเดียว ๑ คนดีแต่พูด ๑ คนหัวประจบ ๑ คนชักชวนในทางฉิบหาย ๑ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร คนปอกลอก ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ เป็นคนคิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๑ เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก ๑ ไม่รับทำกิจของเพื่อนในคราวมีภัย ๑ คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร คนปอกลอก ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตรเป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย ๑ อ้างเอาของที่ยังไม่มาถึงมาปราศรัย ๑ สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑ เมื่อกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง ๑

ดูกรคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ ตามใจเพื่อนให้ทำความชั่ว ๑ ตามใจเพื่อนให้ทำความดี ๑ ต่อหน้าสรรเสริญ ๑ ลับหลังนินทา ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ ชักชวนให้ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ชักชวนให้เที่ยวตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน ๑ ชักชวนให้เที่ยวดูการมหรสพ ๑ ชักชวนให้เล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตรเป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า

บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ
มิตรปอกลอก ๑ มิตรดีแต่พูด ๑ มิตรหัวประจบ ๑ มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ๑
ว่าไม่ใช่มิตรแท้ ดังนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล
เหมือนคนเดินทางเว้นทางที่มีภัย ฉะนั้น ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุข ร่วมทุกข์ ๑ มิตรแนะประโยชน์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรมีใจดี ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ คือ รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑ เมื่อกิจที่จำต้องทำเกิดขึ้นเพิ่มทรัพย์ให้สองเท่า ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ คือ บอกความลับแก่เพื่อน ๑ ปิดความลับของเพื่อน ๑ ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย ๑ แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ คือ ห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ บอกทางสวรรค์ให้ ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ คือ ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ๑ ยินดีด้วยความเจริญของเพื่อน ๑ ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน ๑ ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า

บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑
มิตรแนะประโยชน์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑ ว่าเป็นมิตรแท้ ฉะนี้แล้ว
พึงเข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพเหมือนมารดากับบุตร ฉะนั้น
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดังไฟ
เมื่อบุคคลออมโภคสมบัติอยู่เหมือนแมลงผึ้งผนวกรัง
โภคสมบัติย่อมถึงความสั่งสมดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น
คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ ครั้นสะสมโภคสมบัติได้อย่างนี้แล้ว
พึงแบ่งโภคสมบัติออกเป็นสี่ส่วน เขาย่อมสมานมิตรไว้ได้
พึงใช้สอยโภคสมบัติด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการงานด้วยสองส่วน
พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย หมายว่าจักมีไว้ในยามอันตราย ดังนี้ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร ก็อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง ๖ อย่างไร ท่านพึงทราบทิศ ๖ เหล่านี้ คือ พึงทราบมารดาบิดาว่าเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตรและอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้ายทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้าอันบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยตั้งใจไว้ว่าท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๑ จักรับทำกิจของท่าน ๑ จักดำรงวงศ์สกุล ๑ จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑ ก็หรือเมื่อท่านละไปแล้ว ทำกาลกิริยาแล้ว จักตามเพิ่มให้ซึ่งทักษิณา ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้าอันบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ ห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑ หาภรรยาที่สมควรให้ ๑ มอบทรัพย์ให้ในสมัย ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้าอันบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหน้านั้น ชื่อว่าอันบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวาอันศิษย์พึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยลุกขึ้นยืนรับ ๑ ด้วยเข้าไปยืนคอยรับใช้ ๑ ด้วยการเชื่อฟัง ๑ ด้วยการปรนนิบัติ ๑ ด้วยการเรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวาอันศิษย์บำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ คือ แนะนำดี ๑ ให้เรียนดี ๑ บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด ๑ ยกย่องให้ปรากฏในเพื่อนฝูง ๑ ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวาอันศิษย์บำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องขวานั้น ชื่อว่าอันศิษย์ปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยยกย่องว่าเป็นภรรยา ๑ ด้วยไม่ดูหมิ่น ๑ ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ ๑ ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ ๑ ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ จัดการงานดี ๑ สงเคราะห์คนข้างเคียงของผัวดี ๑ ไม่ประพฤตินอกใจผัว ๑ รักษาทรัพย์ที่ผัวหามาได้ ๑ ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหลังนั้น ชื่อว่าอันสามีปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยการให้ปัน ๑ ด้วยเจรจาถ้อยคำเป็นที่รัก ๑ ด้วยประพฤติประโยชน์ ๑ ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑ ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว ๑ รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมิตรมีภัยเอาเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑ ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑ นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องซ้ายนั้น ชื่อว่าอันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำอันนายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง ๑ ด้วยให้อาหารและรางวัล ๑ ด้วยรักษาในคราวเจ็บไข้ ๑ ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน ๑ ด้วยปล่อยในสมัย ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำอันนายบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ คือ ลุกขึ้นทำการงานก่อนนาย ๑ เลิกการงานทีหลังนาย ๑ ถือเอาแต่ของที่นายให้ ๑ ทำการงานให้ดีขึ้น ๑ นำคุณของนายไปสรรเสริญ ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำอันนายบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องต่ำนั้น ชื่อว่าอันนายปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัย ด้วยประการฉะนั้น ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบนอันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑ ด้วยวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑ ด้วยมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑ ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู ๑ ด้วยให้อามิสทานเนืองๆ ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบนอันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ คือ ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ๑ บอกทางสวรรค์ให้ ๑ ฯ

ดูกรคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบนอันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ เหล่านี้ ทิศเบื้องบนนั้น ชื่อว่าอันกุลบุตร ปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัย ด้วยประการฉะนี้ ฯ

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ต่อไปอีกว่า

มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา
บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตรอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย
ทาสกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน
คฤหัสถ์ในสกุลผู้สามารถควรนอบน้อมทิศ เหล่านี้
บัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นคนละเอียดและมีไหวพริบ
มีความประพฤติเจียมตนไม่ดื้อกระด้าง ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ
คนหมั่น ไม่เกียจคร้านย่อมไม่หวั่นไหว ในอันตรายทั้งหลาย
คนมีความประพฤติไม่ขาดสาย มีปัญญา ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ
คนผู้สงเคราะห์ แสวงหามิตรที่ดี รู้เท่าถ้อยคำที่เขากล่าว ปราศจากตระหนี่
เป็นผู้แนะนำแสดงเหตุผลต่างๆ เนืองๆ ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ
การให้ ๑ เจรจาไพเราะ ๑ การประพฤติให้เป็นประโยชน์ ๑
ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลาย ในคนนั้นๆ ตามควร ๑
ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจในโลกเหล่านี้แล เป็นเหมือนสลักรถอันแล่นไปอยู่
ถ้าธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวเหล่านี้ไม่พึงมีไซร้ มารดาและบิดาไม่พึงได้ความนับถือ
หรือความบูชาเพราะเหตุแห่งบุตร เพราะบัณฑิตทั้งหลายพิจารณาเห็น
ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวเหล่านี้โดยชอบ ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้นจึงถึง
ความเป็นใหญ่และเป็นผู้อันหมู่ชนสรรเสริญทั่วหน้า ดังนี้ ฯ

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสฉะนี้แล้ว สิงคาลกคฤหบดีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัย เป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล ฯ

จบ สิงคาลกสูตร ที่ ๘
แหล่งข้อมูลอ้างอิง: บทความนี้สำเนาข้อมูลต้นฉบับจาก https://suttacentral.net/dn31/th/siam_rath?lang=th&reference=none&highlight=false
Meriko Kojic X Glutaplus Body Cream วิตามิน C,E

ช่วยให้ผิวดูขาวกระจ่างใสใน 7 วัน! ซื้อ 2 กระปุกใหญ่ ในราคาเพียง 590 บาท จากปกติ 1,180 บาท

สั่งซื้อเลย

อุปเนยยสูตรที่ ๓ ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย


สังยุตตนิกาย
สคาถวรรค
เทวตาสังยุต
นฬวรรคที่ ๑

อุปเนยยสูตรที่ ๓

เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงทำบุญทั้งหลายที่นำความสุขมาให้ ฯ
ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อนเข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด ฯ

"กุศลกรรมบท 10 สำคัญแค่ไหน ทำไมใครๆ ก็พูดถึง?"

กุศลกรรมบท 10 เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา ซึ่งกล่าวถึงวิธีการปฏิบัติที่นำไปสู่ความดีงามและชีวิตที่มีความสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต หลักนี้ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางเพราะเป็นพื้นฐานของการสร้างบุญกุศลและลดบาปกรรมในชีวิตประจำวัน 

หลักสำคัญของกุศลกรรมบท 10 คือการแสดงออกถึงความคิด การกระทำ และคำพูดที่ดี โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ กายกรรม 3 วจีกรรม 4 และมโนกรรม 3 ดังนี้: 
↘️ กายกรรม (การกระทำทางกาย) 3 
ข้อ 1. ไม่ฆ่าสัตว์ - การเคารพชีวิตและไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น 
ข้อ 2. ไม่ลักทรัพย์ - การเคารพในทรัพย์สินของผู้อื่น 
ข้อ 3. ไม่ประพฤติผิดในกาม - การมีความสัมพันธ์ในกรอบของศีลธรรม 
↘️ วจีกรรม (การกระทำทางวาจา) 4 
ข้อ 4. ไม่พูดเท็จ - การพูดความจริงและรักษาสัจจะ 
ข้อ 5. ไม่พูดส่อเสียด - การไม่ยุแหย่ให้ผู้อื่นทะเลาะกัน 
ข้อ 6. ไม่พูดคำหยาบ - การพูดจาไพเราะและสุภาพ 
ข้อ 7. ไม่พูดเพ้อเจ้อ - การพูดที่มีประโยชน์และเหมาะสม 
↘️ มโนกรรม (การกระทำทางใจ) 3 
ข้อ 8. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น - การมีความพอใจในสิ่งที่ตนเองมี 
ข้อ 9. ไม่พยาบาท - การไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น 
ข้อ 10. มีความเห็นถูกต้อง - การมีทัศนคติที่ถูกต้องตามหลักธรรม 

🙏 ความสำคัญของกุศลกรรมบท 10 
1. สร้างความสงบสุขในสังคม: หากทุกคนปฏิบัติตามหลักนี้ ความขัดแย้งและปัญหาต่าง ๆ จะลดลง 
2. พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น: เป็นการฝึกจิตให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นโทษ และเพิ่มพูนคุณธรรมในตน 
3. เป็นพื้นฐานของศีลธรรม: ช่วยให้บุคคลมีความประพฤติดีงาม ทั้งในมิติส่วนตัวและสังคม 
4. เตรียมความพร้อมสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูง: เป็นบันไดสู่การเข้าถึงปัญญาและนิพพาน 

🙏 เหตุผลที่ใคร ๆ พูดถึงกุศลกรรมบท 10 
  • เป็นหลักธรรมที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน 
  • เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตอย่างมีศีลธรรม 
  • เหมาะสำหรับการพัฒนาตนเองในทุกระดับ ตั้งแต่คนทั่วไปจนถึงนักปฏิบัติธรรม 
  • ช่วยสร้างบุญกุศลและผลดีทั้งในชาตินี้และชาติหน้า การปฏิบัติตามกุศลกรรมบท 10 จึงเป็นเหมือน "คู่มือชีวิต" ที่ทำให้คนสามารถดำรงตนในสังคมได้อย่างสงบสุข และพัฒนาจิตใจให้ดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงที่สุดของการพ้นทุกข์ในทางพระพุทธศาสนา
วิทยุธรรม

➡️สนับสนุนสินค้าเรา

สั่งซื้อเลย

มรรค 8: เส้นทางสู่ความดับทุกข์-buddha-dhamma-18-11-2567

หนังสือชุดพุทธวจน
สั่งซื้อเลย

มรรค 8: เส้นทางสู่ความดับทุกข์

มรรค 8 หรือ อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นแนวทางปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและทรงสอน เพื่อนำพาผู้ปฏิบัติให้หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง มรรค 8 นี้เปรียบเสมือนแผนที่ที่ชี้ทางไปสู่ความสงบสุขและความหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร

มรรค 8 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ดังนี้

  1. สัมมาทิฏฐิ: ความเห็นชอบ หมายถึง การมีความเห็นที่ถูกต้องเกี่ยวกับความจริงของชีวิต เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
  2. สัมมาสังกัปปะ: ความดำริชอบ หมายถึง การมีความคิดที่ถูกต้อง ไม่มีความคิดที่จะเบียดเบียนผู้อื่น ไม่มีความคิดที่จะทำสิ่งที่ผิด
  3. สัมมาวาจา: การเจรจาชอบ หมายถึง การพูดแต่สิ่งที่เป็นจริง ไม่พูดปด ไม่นินทา ไม่พูดคำหยาบ
  4. สัมมากัมมันตะ: การกระทำชอบ หมายถึง การกระทำที่ถูกต้อง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
  5. สัมมาอาชีวะ: การเลี้ยงชีพชอบ หมายถึง การประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
  6. สัมมาวายามะ: ความพยายามชอบ หมายถึง การพยายามที่จะละทิ้งอกุศล และเจริญกุศล
  7. สัมมาสติ: การระลึกชอบ หมายถึง การมีสติระลึกอยู่เสมอในกาย เวทนา จิต และธรรม
  8. สัมมาสมาธิ: ความตั้งจิตมั่นชอบ หมายถึง การตั้งจิตให้สงบ และมีสมาธิจดจ่ออยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ความสำคัญของมรรค 8

  • เป็นเส้นทางสายกลาง: มรรค 8 ไม่ได้เป็นการปฏิบัติที่เคร่งครัดเกินไป หรือหย่อนยานเกินไป แต่เป็นการปฏิบัติที่พอดี
  • ครอบคลุมทุกด้านของชีวิต: มรรค 8 ครอบคลุมทั้งความคิด พูด ทำ และการดำเนินชีวิตประจำวัน
  • นำไปสู่ความหลุดพ้น: การปฏิบัติตามมรรค 8 อย่างสม่ำเสมอ จะนำไปสู่ความดับทุกข์ และความหลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร

การปฏิบัติตามมรรค 8

การปฏิบัติตามมรรค 8 นั้น ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องอาศัยความเพียรพยายาม และความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การเริ่มต้นปฏิบัติอาจจะเริ่มจากการฝึกสติในชีวิตประจำวัน เช่น การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ หรือการฝึกหายใจ

คำถามเพิ่มเติม:

  • คุณต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบใดของมรรค 8 มากขึ้น?
  • คุณต้องการทราบวิธีการปฏิบัติตามมรรค 8 อย่างละเอียด?
  • คุณมีคำถามอื่นๆ เกี่ยวกับมรรค 8 หรือไม่?

หมายเหตุ: ข้อมูลนี้เป็นเพียงภาพรวมของมรรค 8 หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม ควรศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น พระไตรปิฎก หรือหนังสือที่เกี่ยวข้อง

คำแนะนำ: การปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุด คือการปฏิบัติร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ หรือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา

ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมไหมคะ?

คำสำคัญ: มรรค 8, อริยมรรค, พุทธศาสนา, ความดับทุกข์, สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ

#มรรค8 #พุทธศาสนา #ธรรมะ #ความดับทุกข์ #พุทธวจน

ขอให้เจริญในธรรมค่ะ

อ้างอิง: https://g.co/gemini/share/c67379352761

คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นรู้ไว้ให้ถูกต้อง ส่วนการปฏิบัติให้ยึดทางสายกลาง ถูกต้องหรือไม่?-AIสอนธรรม17-11-2567

หนังสือ"มรรค(วิธี)ที่ง่าย"

แนะนำหนังสือพุทธวจน

สั่งซื้อเลย


คำถามนี้สอดคล้องกับหลักธรรมสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงสอน คือ อริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งเป็นการเดินทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) โดยไม่เอียงไปในสองสุดโต่ง ทั้งในด้านการเสพกามและการทรมานตนเอง

ใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (SN 56.11) พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ว่า:

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดำเนินตามทางสุดโต่งสองอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ผู้แสวงหาความรู้ควรละทิ้งเสีย คือ การหมกมุ่นในกามสุขและการทรมานตนให้ลำบาก… ทางสายกลางที่เราได้ตรัสรู้นี้ ให้ปัญญา ให้ความสงบ ให้ปัญญาชำแรกกิเลสให้ถึงนิพพาน” 

https://suttacentral.net/sn56.11

การปฏิบัติตามทางสายกลางนั้นหมายถึงการรักษาความสมดุล ไม่สุดโต่งไปในความสุขทางโลกหรือการบำเพ็ญตบะจนร่างกายลำบาก ซึ่งจะนำไปสู่การมีศีล สมาธิ และปัญญา

ความหมายที่เกี่ยวข้องในคำถาม

  1. การรู้ให้ถูกต้อง – การมี สัมมาทิฏฐิ หรือความเห็นชอบในอริยมรรค ซึ่งก็คือการมีความเข้าใจที่ถูกต้องในธรรมะ เช่น ความจริงของทุกข์ (ทุกข์) เหตุของทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) และหนทางปฏิบัติไปสู่การดับทุกข์ (มรรค) การรู้ให้ถูกต้องจึงหมายถึงการศึกษาธรรมและการปฏิบัติให้เข้าใจตามความเป็นจริง
  1. การปฏิบัติตามทางสายกลาง – การเดินตาม อริยมรรคมีองค์แปด ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาคุณธรรมและการละกิเลส

ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า "การรู้ให้ถูกต้อง" และ "การปฏิบัติตามทางสายกลาง" นั้น เป็นหลักธรรมที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าตรัสรูธรรมเพื่อการหลุดพ้นทุกข์ ธรรมะนั้นชื่ออะไร?

GPT

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งเราเรียกว่า อริยสัจ 4 หรือความจริงอันประเสริฐทั้งสี่ ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ธรรมะนี้ประกอบด้วยความจริงสี่ประการ ได้แก่


  1. ทุกข์ (Dukkha) – ความจริงของทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายและใจทั้งหลายที่เราประสบในชีวิต ความไม่สมหวัง ความเกิดแก่เจ็บตาย เป็นต้น
  2. สมุทัย (Samudaya) – ความจริงของเหตุแห่งทุกข์ หมายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ซึ่งก็คือ ตัณหา หรือความทะยานอยาก ความยึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ
  3. นิโรธ (Nirodha) – ความจริงของการดับทุกข์ หมายถึงสภาวะที่ปลอดจากทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราสามารถดับเหตุแห่งทุกข์ได้
  4. มรรค (Magga) – ความจริงของหนทางดับทุกข์ หมายถึงหนทางการปฏิบัติเพื่อไปสู่การหลุดพ้นทุกข์ ซึ่งเรียกว่า อริยมรรคมีองค์แปด หรือทางสายกลาง

ใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (SN 56.11) พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงอริยสัจ 4 เป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ ซึ่งเป็นการประกาศธรรมะที่เป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนา:

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 นี้แล คือทุกข์ อริยสัจว่าด้วยทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ อริยสัจว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ อริยสัจว่าด้วยความดับแห่งทุกข์ หนทางอันประเสริฐอันนำไปสู่ความดับแห่งทุกข์ อริยสัจว่าด้วยหนทางอันประเสริฐนั้น" https://suttacentral.net/sn56.11

อริยสัจ 4 เป็นธรรมะที่ชี้นำให้เราพ้นจากทุกข์โดยการรู้จักทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ เข้าใจถึงสภาวะดับทุกข์ และปฏิบัติตามหนทางที่นำไปสู่การหลุดพ้น

ที่มา: https://chatgpt.com/share/6739bd5a-b658-800d-ac59-2c7e78bcf29e


ทุจริต ๓: อาหารของนิวรณ์ ๕ และวิธีละจากคำสอนพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง ทุจริต ๓ (ความประพฤติผิดทางกาย วาจา และใจ) ว่าเป็น "อาหาร" หรือปัจจัยที่เกื้อหนุนนิวรณ์ ๕ ใน อากังเขยยสูตร (...